เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
4. อนนุสสุตวรรค 6. อัญญาสูตร

1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป มีวิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป มีสัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ 5 จบ

6. อัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้บรรลุอรหัตตผล

[402] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :259 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [3. สติปัฏฐานสังยุต]
4. อนนุสสุตวรรค 7. ฉันทสูตร

3. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน 4 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
พึงหวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

อัญญาสูตรที่ 6 จบ

7. ฉันทสูตร
ว่าด้วยผู้ละฉันทะ

[403] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้
สติปัฏฐาน 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมละฉันทะ(ความพอใจ)ในกายนั้นได้ เพราะละฉันทะได้
จึงทำอมตะ(นิพพาน)ให้แจ้ง
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในเวทนา
ทั้งหลาย เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมละฉันทะในจิต เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :260 }